Assembly of Interstitial Lung Disease

ณะอนุกรรมการคณะอนุกรรมการโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

(Assembly of interstitial lung disease, occupational and environmental lung disease)

คณะกรรมการ

  1. รศ.นพ. ศุภฤกษ์           ดิษยบุตร                                      ประธาน
  2. ผศ.พญ. ไพลิน             รัตนวัฒน์กุล                                   เลขานุการ
  3. พญ. กิตติมา               บ่างพัฒนาศิริ                                 เหรัญญิก
  4. รศ.นพ. นิธิพัฒน์           เจียรกุล                                       ที่ปรึกษา
  5. รศ.นพ. กมล               แก้วกิติณรงค์                                  กรรมการ
  6. ผศ.ดร.นพ. ณรงค์ภณ     ทุมวิภาต                                      กรรมการ
  7. พญ. สตรีรัตน์              จั่นครุฑ                                        กรรมการ
  8. อ.นพ. อมรพันธุ์            วงศ์กาญจนา                                  กรรมการ
  9. อ.นพ. ธนัญชัย             เพชรนาค                                      กรรมการ
  10. ผศ.พญ. ปัญญ์ชลี          แก่นเมือง                                      กรรมการ
  11. พต.หญิง พญ. ดุจรัตน์     สมบูรณ์วิบูลย์                                 กรรมการ
  12. อ.พญ. ณัฐชนก            นิยติวัฒน์ชาญชัย                             กรรมการ
  • วัตถุประสงค์
  • เป็นกลุ่มย่อยที่ทำงานร่วมกันในทางวิชาการด้านโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชพีและสิ่งแวดล้อมในนามของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคกลุ่มนี้
  • เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ ในกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในประเทศและประสานงานร่วมกับองค์กรต่างประเทศ
  • เป็นศูนย์กลางของกลุ่มของแพทย์ผู้สนใจกลุ่มโรคเหล่านี้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน
  • หน้าที่และขอบเขตงาน
  • เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ ในกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น การประชุม การออกข้อสอบ การวินิจฉัยโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม การร่างมาตรฐานการวินิจฉัยและการดูแลรักษาโรคกลุ่มนี้ การเสนอหัวข้อวิชาการในงานประชุมวิชาการของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ เป็นต้น
  • ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เช่น สร้างฐานข้อมูลผู้ป่วยของประเทศและการพัฒนางานวิจัย เป็นต้น เพื่อประยุกต์ความรู้ให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของประเทศไทย
  • รับผิดชอบงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมตามที่ได้รับมอบหมายจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ
  • กิจกรรมประจำของกลุ่ม
  • ILD Connect เป็นระบบปรึกษากรณีผู้ป่วยที่สงสัยโรคปอดอินเตอร์สติเชียลในช่องทางออนไลน์
  • ILD Virtual Connect เป็นการนำเสนอกรณีผู้ป่วย หรือการบรรยายร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เกี่ยวกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  • ILD สัญจร เป็นการจัดประชุมตามจังหวัดต่าง ๆ โดยรูปแบบเป็นการบรรยาย หรือการนำเสนอกรณีผู้ป่วยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เกี่ยวกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดทำ Website และ Facebook Page ของกลุ่มฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอินเตอร์สติเชียลและโรคปอดจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
  • จัดทำสื่อความรู้และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ Mobile application (ILD 360o), official Line account (O2 lung หรือปอดโปร่ง)
  • ผลงานในอดีต
  • จัดทำฐานข้อมูลโรคปอดเป็นพังผืดชนิดไม่ทราบสาเหตุของประเทศไทย (กำลังดำเนินการ)
  • จัดประชุมเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและการดูแลผู้ป่วยโรคปอดเป็นพังผืดชนิดไม่ทราบสาเหตุกับทีมพยาบาล
  • จัดทำแนวทางมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดเป็นพังผืดชนิดไม่ทราบสาเหตุฉบับเพื่อการประชาพิจารณ์ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562) ร่วมกับราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทย
  • ร่วมประชุมกับราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำร่างข้อกำหนดสำหรับการวินิจฉัย และหลักการแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด (high-resolution computed tomography) สำหรับโรคปอดเป็นพังผืดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (มกราคม พ.ศ. 2562)
  • ปรับปรุงแนวทางมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดเป็นพังผืดชนิดไม่ทราบสาเหตุ (มิถุนายน พ.ศ. 2564)

จัดทำแนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษาและติดตามผู้ป่วยโรคปอดอินเตอร์สติเชียลจากโรคหนังแข็ง (กรกฎาคม พ.ศ. 2564) ร่วมกับสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

แผนงาน ILD assembly ประจำปี พ.ศ. 2565

Assembly of Sleep

คณะทำงานด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ (Sleep Medicine Assembly)
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประจำปี พ.ศ.2565 – 2567


ที่ปรึกษา

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ ประพำฬ ยงใจยุทธ
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร.แพทย์หญิง คุณหญิง นันทำ มำระเนตร์
ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถ นานา
พลโท นายแพทย์ อดิศร วงษา
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิธิพัฒน์ เจียรกุล
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ สิทธิ์ เทพ ธนกิจจารุ
อาจารย์ แพทย์หญิง พิมล รัตนำอัมพวัลย์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม
กรรมการบริหาร
อาจารย์ แพทย์หญิง กัลยา ปัญจพรผล ประธาน
พันโท นายแพทย์ ประพันธ์ กิตติวรวิทย์กุล เลขาธิการ
อาจารย์ นายแพทย์ สมประสงค์ เหลี่ยมสมบัติ เหรัญญิกและรองฝึกอบรมและสอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วิสาข์สิริ ตันตระกูล ฝึกอบรมและสอบ
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นฤชา จิรกาลวสาน รองฝึกอบรมและสอบ
พันตรี หญิง แพทย์หญิง พรประภา จินดามพร วิชาการ
อาจารย์แพทย์หญิง นฤมล ลือกิตินันท์ รองวิชาการ
อาจารย์ แพทย์หญิง ภัทรภร ปัญญารัตน์ รองวิชาการ
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีรกร ธีรกิตติกุล วิจัย
อาจารย์ นายแพทย์ อภิชาติ โซ่เงิน รองวิจัย
นาวาอากาศตรีหญิง แพทย์หญิง ดรุณี วิริยาภรณ์ รองวิจัย
อาจารย์ แพทย์หญิง ณัฐวรรณ สงวนวงษ์ ประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ
อาจารย์ นายแพทย์ ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล รองประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ
อาจารย์ แพทย์หญิง ศิวพร เลิศพงษ์พิรุฬห์ นายทะเบียน
อาจารย์ แพทย์หญิง ปิยาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น รองนายทะเบียน
รายนาม คณะอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์หลักสูตรอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
อนุสาขาอายุรศาสตร์ความผิดปกติของการหายใจขณะหลับ (Sleep related breathing disordered medicine)
ประจำปี พ.ศ. 2565-67

  1. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ แจ่มศักดิ์ ไชยคุนำ ประธาน
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นำยแพทย์ สิทธิ์ เทพ ธนกิจจารุ อนุกรรมการ
  3. อาจารย์ แพทย์หญิง พิมล รัตนำอัมพวัลย์ อนุกรรมการ
  4. ศาสตราจารย์ นำยแพทย์ ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม อนุกรรมการ
  5. อาจารย์ แพทย์หญิง กัลยำ ปัญจพรผล อนุกรรมการ
  6. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีรกร ธีรกิตติกุล อนุกรรมการ
  7. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง นฤชา จิรกาลวสาน อนุกรรมการ
  8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง วิสาข์สิริ ตันตระกูล อนุกรรมการ
  9. อาจารย์ แพทย์หญิง ศิวพร เลิศพงษ์พิรุฬห์ อนุกรรมการ
  10. อาจารย์แพทย์หญิง ปิยาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น อนุกรรมการ
  11. นาวาอากาศตรี หญิง แพทย์หญิง ดรุณี วิริยาภรณ์ อนุกรรมการ
  12. อาจารย์ นายแพทย์ อภิชาติ โซ่เงิน อนุกรรมการ
  13. อาจารย์ นายแพทย์ สมประสงค์ เหลี่ยมสมบัติ อนุกรรมการ
  14. อาจารย์ นายแพทย์ ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล อนุกรรมการ
  15. พันตรีหญิง แพทย์หญิง พรประภำ จินดามพร อนุกรรมการ
  16. อาจารย์ แพทย์หญิง นฤมล ลือกิตินันท์ อนุกรรมการ
  17. อาจารย์แพทย์หญิง ณัฐวรรณ สงวนวงษ์ อนุกรรมการ
  18. อาจารย์ แพทย์หญิง ภัทรภร ปัญญำรัตน์ อนุกรรมการ
  19. พันโท นายแพทย์ ประพันธ์ กิตติวรวิทย์กุล อนุกรรมการและเลขาธิการ
    คณะทำงานด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ (Sleep Medicine Assembly)
    สมาคมอุรเวชช์ แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    ประจำปี พ.ศ. 2565-67
    วัตถุประสงค์
  20. วางเป้าหมาย วิธีการฝึกอบรม เกณฑ์หลักสูตรอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาอายุรศาสตร์ความผิดปกติ
    ของการหายใจขณะหลับ (sleep related breathing disordered medicine)
  21. พิจารณาการขอเปิดฝึกอบรม ประเมินคุณภำพ ศักยภำพ รับรองหรือยกเลิกกำรรับรองโรงพยาบาลหรือสถาบันที่ฝึกอบรม
  22. ประเมินคุณสมบัติผู้ที่มีสิทธิ์สอบ ดำเนินการสอบ ประเมินผล ติดตามผล ทำข้อเสนอแนะและดำเนินการแก้ไข
    ปัญหาในการฝึกอบรม
  23. จัดงานประชุมวิชำการและประชุมเชิงปฏิบัติกำร (workshop) ด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ ในระดับประเทศและนานาชาติ
  24. จัดทำแนวทำงเวชปฏิบัติทำงคลินิก (clinical practice guideline) และงานวิจัย ด้านเวชศาสตร์การนอนหลับในระดับประเทศและนานาชาติ
  25. ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพด้านเวชศาสตร์การนอนหลับแก่ประชาชนทั่วไป
  26. เสริมสร้างความสามัคคี คุณธรรม จริยธรรมที่ดีในหมู่สมาชิก
    ขอบเขตงานและกิจกรรมงานประจำ
  27. การฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อใบประกาศนียบัตร อนุสาขาอายุรศาสตร์ความผิดปกติของการหายใจ
    ขณะหลับ (sleep related breathing disordered medicine) หลักสูตร 1 ปี
  • สถาบันที่เปิดหลักสูตร (รามาธิบดี , สถาบันโรคทรวงอก, จุฬาฯ) ที่ละ 1 ตำแหน่ง เริ่มเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  1. เข้าร่วมบรรยายวิชาการ และ workshop งานประชุมวิชาการกลางปี (สิงหาคม) และงานประชุมวิชาการประจำปี
    (กุมภาพันธ์) สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ
  2. เป็นเจ้าภาพร่วมในงานประชุมวิชาการกับสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยและสมาคมการนอนหลับ
    จาก 4 ราชวิทยาลัย (อายุรศาสตร์ , กุมารเวชศาสตร์ , โสต ศอ นาสิก, จิตเวชศาสตร์ )
  • “Intensive Course: Basic Knowledge in Sleep Medicine” ในเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • “Sleep Medicine Board Review” ในเดือนมิถุนายนของทุกปี
    งานประชุมวิชาการของ Sleep Medicine Assembly
  1. จัดประชุมวิชำการ “Sleep related breathing disorders: update knowledge and case sharing” 4 ครั้ง/ปี
  • รูปแบบ hybrid (onsite และ online)
  • ในวันพฤหัส สัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 เวลา 12.00-14.30 น. ที่ ศูนย์โรคการนอนหลับ ตึกพระเทพรัตน์ ชั้น 7
    โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจัด 4 ครั้ง/ปี ดังนี้
    ครั้งที่ 1 วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2565
    ครั้งที่ 2 วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2565
    ครั้งที่ 3 วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2566
    ครั้งที่ 4 วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2566
    ตำรางกิจกรรม
    เวลำ กิจกรรม
    12.00 – 13.00 น. Lunch symposium
    13.00 – 13.45 น. Case sharing: Sleep Related Breathing Disorder
    13.45 – 14.30 น. Update knowledge in Sleep Medicine
    งำนวิชาการ
  1. จัดทำ “คำแนะนำสำหรับการวินิจฉัยและดูแลรักษากลุ่มอาการอ้วนหายใจต่ำในประเทศไทย
    สำหรับผู้ใหญ่ พ.ศ.2565 (Clinical Recommendations for Diagnosis and Management
    of Obesity Hypoventilation Syndrome in Thailand for Adults 2022)”
    งานวิจัย
  2. National OSA registry
    งานด้านอื่น ๆ
  3. งานทะเบียน จัดเก็บข้อมูลสมาชิก (คณะกรรมการบริหาร, แพทย์ประจำบ้านต่อยอด, สมาชิกทั่วไป)
  4. งานประชาสัมพันธ์และสารสนเทศ
  5. Logo ของ sleep assembly
    ผลงานในอดีตที่ผ่านมา
    Certificate of Sleep related breathing disordered medicine ปี การศึกษา 2564 (รุ่นที่ 3)
    นายแพทย์ วีรวัชร น้อมสวัสดิ์

Assembly of Pulmonary function & Rehabilitation

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดตั้งกลุ่มงาน assembly of pulmonary function and rehabilitation ขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และวิชาการที่มีความสนใจในงานเกี่ยวกับการตรวจทดสอบและการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ในการทำกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัยพัฒนาด้านการตรวจและการฟื้นฟูสมรรถภาพปอด เป็นการยกระดับมาตรฐานของประเทศไทยให้เป็นมาตรฐานสากล

ขอบข่ายงาน

  1. ทำงานวิจัย เก็บข้อมูลร่วมกันในลักษณะ multicenter study ในเรื่องต่าง ๆ ที่ยังขาดข้อมูลหรือองค์ความรู้ในประเทศไทย ได้แก่
    • การคัดเลือกค่าอ้างอิง (reference values) ที่มีอยู่ในเครื่องตรวจสมรรถภาพปอดแบบ spirometry ที่ใกล้เคียงกับประชากรไทยตัวอย่าง
    • การหาค่าอ้างอิงของการตรวจ spirometry, lung volumes, diffusing capacity of carbon monoxide และค่าที่ได้จากการตรวจ cardiopulmonary exercise test ในประชากรไทย
  2. การฝึกอบรมการตรวจสมรรถภาพปอด ตามแนวนโยบายของสมาคมอุรเวชช์ฯ
  3. การสนับสนุนด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดรวมถึงการแนะนำการใช้ยาสูดพ่นผ่านทางเดินหายใจที่ถูกต้องในสถาบันต่าง ๆ
  4. เป็นตัวแทนด้านวิชาการ เช่น การเสนอเรื่องบรรยาในงานประชุมวิชาการของสมาคมฯ การให้ความรู้แก่ประชาชน
  5. เป็นตัวแทนของสมาคมฯ ในการติดต่อกับต่างประเทศ
  6. การให้คำแนะนำและช่วยเหลือแพทย์ ผ่านทาง website ของสมาคม

งานที่ได้ดำเนินการไปแล้วในปีที่ผ่านมา

  1. การคัดเลือกค่าที่ใช้ในการอ้างอิงที่มีอยู่ในเครื่องตรวจ spiromery ที่ใกล้เคียงกับประชากรไทยตัวอย่าง เพื่อใช้แนะนำห้กับสถาบันตรวจที่มีเครื่องที่ไม่สามารถลงค่ามาตรฐานไทยได้
  2. สำรวจข้อมูลบุคลากรที่ผ่านการอบรมสไปโรคเมตรีย์ และผู้ที่ผ่านการประเมินในโรงพยาบาลระดับ 90 เตียงขึ้นไป
  3. แบบสำรวจการมีเครื่องมือตรวจสมรรถภาพปอดชนิดต่าง ๆ ในโรงพยาบาลแต่ละระดับ กำหนด specification ของเครื่องตรวจ spirometry ที่ได้มาตรฐานการตรวจ

คณะอนุกรรมการ

  1. รศ.ดร.พญ.เบญจมาศ ช่วยชู (ประธาน)
  2. ผศ.(พิเศษ)พญ.วรวรรณ ศิริชนะ (เลขาธิการ)
  3. พ.อ.พญ.เพชรา บุญยงสรรค์ชัย
  4. รศ.พญ.ประภาพร พรสุริยะศักดิ์
  5. พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์
  6. พญ.นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร
  7. พญ.นิษฐา เอื้ออารีย์มิตร (เหรัญญิก)
  8. รศ.นพ.อรรถวุฒิ ดีสมโชค (ภาคเหนือ)
  9. รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
  10. ผศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง (ภาคใต้)

Assembly Interventional pulmonology

Assembly of interventional pulmonology

คณะอนุกรรมการอายุรศาสตร์การทำหัตถการทางทรวงอกและหลอดลม

กลุ่มย่อยที่ทำงานร่วมกันในทางวิชการด้านอายุรธสาสตร์หตถการทางทรวงอกและหลอดลม ในนามของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเป็นแกนกลางของแพทย์ผู้สนใจในศาสตร์นี้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน

ขอบเขตงาน

  1. เผยแพร่ความรู้ ทักษะทางด้านอายุรศาสตร์หัตถการทางทรวงอกและหลอดลมให้กับแพทย์ผู้สนใจในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดประชุม การฝึกอบรม
  2. เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์ฯ ในกิจการต่าง ๆในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอายุรศาสตร์หัตถการทางทรวงอกและหลอดลมในประเทศไทย อาทิเช่น การพิจารณาราคาค่าหัตถการ และการพิจารณาให้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเบิกได้ตามสิทธิ์ที่ควรจะเป็น การเสนอเรื่องบรรยายในงานประชุมวิชาการของสมาคมอุรเวชช์ฯ การออกข้อสอบ เป็นต้น
  3. ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอายุรศาสตร์หัตถการทางทรวงอกและหลอดลม เช่น การเก็บข้อมูลร่วมกัน งานวิจัย
  4. เป็นตัวแทนในการติดต่อทาง ด้านอายุรศาสตร์หัตถการทางทรวงอกและหลอดลมกับองค์กรต่างประเทศในนามของ สมาคมอุรเวชช์ฯ
  5. งานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอายุรศาสตร์หัตถการทางทรวงอกและหลอดลม

ประธาน
พลตรีนายแพทย์อนันต์ วัฒนธรรม

เลขานุการ
ผศ.พญ.อัสมา นวสกุลพงศ์

อนุกรรมการ

  1. แพทย์หญิงเปี่ยมลาภ แสงสายัณห์
  2. รองศาสตราจารย์นายแพทย์แจ่มศักดิ์ ไชยคุนา
  3. รองศาสตราจารย์นายแพทย์กมล แก้วกิติณรงค์
  4. ศาสตราจารย์นายแพทย์วิบูลย์ บุญสร้างสุข
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร
  6. นายแพทย์ธิติวัฒน์ ศรีประศาสน์

แผนงาน ความสนใจ

  1. การฝึกอบรม interventional pulmonology ของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ระยะเวลาในการฝึกอบรม 1 ปี
  2. กิจกรรมวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางด้าน interventional pulmonology ให้แพร่หลาย

Assembly Critical Care

กลุ่มทำงานย่อยที่ร่วมกันทำงานวิชาการด้านอายุรศาสตร์ภาวะวิกฤต ในนามของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเป็นแกนกลางของกลุ่มแพทย์ผู้สนใจด้านเวชบำบัดวิกฤตในการทำกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัยต่าง ๆ ร่วมกัน

ขอบเขตงาน

  1. เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์ฯ ในการทำกิจกรรมหรือกิจการต่าง ๆ ทางด้านอายุรศาสตร์ภาวะวิกฤต อาทิเช่น การร่างหรือร่วมร่างมาตรฐานการรักษาด้านเวชบำบัดวิกฤต แนวทางการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม รวมถึงพิจารณาราคาค่าบริการทางการแพทย์ และการพิจารณาให้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเบิกได้ตามสิทธิ์
  2. การเสนอเรื่องบรรยายในงานประชุมวิชาการของสมาคมอุรเวชช์
  3. การออกข้อสอบด้านอายุรศาสตร์ภาวะวิกฤต
  4. ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านอายุรศาสตร์ภาวะวิกฤต เช่น การเก็บข้อมูลร่วมกัน งานวิจัยเพื่อประยุกต์องค์ความรู้ให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทของประเทศไทย
  5. เป็นตัวแทนในการติดต่อทางด้านเวชบำบัดวิกฤต กับองคืกรต่างประเทศในนามของสมาคมอุรเวชช์ฯ
  6. งานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอายุรศาสตร์ภาวะวิกฤต

ที่ปรึกษา
พลตรีนายแพทย์อดิศร วงษา

ประธาน

รศ.นพ.นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย

เลขานุการ

อ.นพ.กาจบัณฑิต สุรสิทธิ์

อนุกรรมการ

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์วิรัช ตั้งสุจริตวิจิตร
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) แพทย์หญิงณับผลิกา กองพลพรหม
  3. พันโทนายแพทย์อมรชัย เลิศอมรพงษ์

สมาชิก

  1. นายแพทย์สันติ สิลัยรัตน์ (วชิรพยาบาล)
  2. แพทย์หญิงภัทริน ภิรมย์พานิช (ธรรมศาสตร์)
  3. นายแพทย์สุรัชต์ นาคะวิโรจน์ (พระปกเกล้า)
  4. นายแพทย์วรชัย แสงทองพินิจ (ชลบุรี)
  5. แพทย์หญิงนุชนาถ โตเหมือน (นครปฐม)
  6. นายแพทย์กาจบัณฑิต สุรสิทธิ์ (นครพิงค์)
  7. แพทย์หญิงวรรัตน อิ่มสงวน (เชียงราย)
  8. นายแพทย์อนุชิต นิยมปัทมะ (นครราชสีมา)
  9. นายแพทย์อัครวัตร รัตนวงศ์ไพบูลย์ (อุดรธานี)
  10. นายแพทย์นรินทร์ จินดาเวช (บุรีรัมย์)
  11. นายแพทย์จีรวัฒน์ แก้ววินัด (สุรินทร์)
  12. แพทย์หญิงอัสมา นวสกุลพงษ์ (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
  13. แพทย์หญิงไพลิน รัตนวัฒนกุล (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
  14. แพทย์หญิงศิริพันธ์ วัฒนาสิริภักดี (นครศรีธรรมราช)
  15. นายแพทย์ทศพร โมระประเสริฐ (สุราษฎร์ธานี)

แผนงาน ความสนใจ

  1. Noninvasive ventilation
  2. Weaning
  3. Clinical outcome ของ ARDS
  4. กิจกรรม อุรเวชช์สัญตร เพื่อเผยแพร่ความรู้ และ workshop

Assembly Airway

กลุ่ม airway disease assembly เป็นกลุ่มทางวิชาการและการวิจัยโดยแพทย์และนักวิชาการที่มีความสนใจทางด้านโรคหลอดลม หรือ airway disease อันได้แก่ โรคหืด (asthma) ปอดโรคอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) โรคหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) และโรคหลอดลมอื่นๆ ในนามของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อร่วมทำกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลม โดยมีพันธกิจในการจัดมาตรฐานแนวทางการวินิจฉัย และการรักษา และการจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหืดระดับรุนแรงและปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และการประสานความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพอื่น ๆ เช่นสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมูโนวิทยา และสมาพันธ์สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยในการกำหนดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลม ในรูปแบบสหสาขาวิชา และบูรณาการ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของการป้องกัน และดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดลมในประเทศไทย

ขอบข่ายงาน

  1. ทำงานวิจัยจากฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรคหืดระดับรุนแรงในประเทศไทยที่จะมีการดำเนินการเก็บอย่างเป็นระบบในชื่อว่าโครงการ Severe Asthma Registry Program Thailand หรือ SARP-T ในเรื่องลักษณะทางคลินิก การ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหา biomarkers ที่เหมาะสมในการแยกชนิดของโรคหืดชนิดรุนแรงและการทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่จำเพาะสำหรับโรคหืดขั้นรุนแรง ตลอดจนการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ผลการรักษาของโรคหืด และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืด โดยเรื่องที่ถือเป็นพันธกิจที่รีบด่วนเกี่ยวกับโรคหืด คือ
    • การสรุปอัตราการรับไว้รักษาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากหืดกำเริบในประเทศไทย (asthma exacerbation in Thailand)
    • การสรุปอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดในประเทศไทย (asthma mortality in Thailand)
    • การลงทะเบียนผู้ป่วยหืดรุนแรง (Severe asthma registry) ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อจำแนกลักษณะจำเพาะของผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง (Severe asthma phenotypes) เช่น small airway dysfunction หรือ fixed airflow limitation asthma เป็นต้น
    • การจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง (Thai severe asthma guideline) ร่วมกับสมาพันธ์องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา ในการวินิจฉัยและรักษาหืดรุนแรงในประชากรไทย โดยเริ่มต้นจากการระดมสมองของนักวิชาการในกลุ่มเพื่อวางรูปแบบของการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรงภายใต้สถานการณ์ที่มีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรสาธารณสุข
    • อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับมาตรฐานกาวินิจฉัยและรักษาโรคหืด (Thai Asthma Guideline) ที่จัดทำโดยสมาพันธ์องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา โดยจัดทำเป็นการสัมมนาสัญจรภายใต้การร่วมมือของเครือข่ายการบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามภูมิภาคต่าง ๆ อันได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หมุนเวียนไป ทุก 3 เดือน
  2. ทำงานวิจัยโดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทยในชื่อว่าโครงการ Surveillance of ABCD phenotypes in Thailand ในแง่ลักษณะทางคลินิก จำนวนและสัดส่วนผู้ป่วยในกลุ่ม ABCD ตาม multi-dimensional approach ของ GOLD โรคร่วมหรือ co-morbidities การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหา biomarkers ตลอดจนข้อมูลการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ผลการรักษาของโรคโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในประเทศไทย โดยเรื่องที่กลุ่ม Assembly of Airway Diseases ถือเป็นพันธกิจ ที่รีบด่วน คือ
    • ลงทะเบียนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ABCD surveillance in Thailand) ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศรีนครินทร์ ขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    • ศึกษาอุบัติการณ์ของหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลล์ในผู้ป่วย COPD จากการตรวจเลือดหาจ านวน
      เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลล์ ในระดับประเทศ (Eosinophilic phenotype of Thai COPD) ภายใต้ความร่วมมือในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    • การศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะชนิดของ pulmonary emphysema ที่ได้จากการตรวจ high resolution computed tomography และผลกระทบต่อการตอบสนองทางอาการและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย COPD ต่อยาขยายหลอดลมที่ใช้รักษาโรค ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศรีนครินทร์ขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อหาลักษณะจำเพาะของผู้ป่วย COPD (Emphysema phenotypes)
    • อบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับมาตร ฐานการวินิจฉัยและรักษาโรค COPD (Thai COPD Guideline) ที่จัดทำโดย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยจัดทำเป็นการ สัมมนาสัญจรภายใต้การร่วมมือของเครือข่ายการบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามภูมิภาคต่างๆ อันได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หมุนเวียนไป ทุก 3 เดือน
  3. เป็นตัวแทนด้านวิชาการในการเสนอหัวข้อเรื่องที่จะบรรยายและจัดหัวข้อประชุม ในงานประชุมวิชาการของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี หรือการประชุมกลางปี รวมทั้งการอบรมแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และการจัดสรรข้อสอบ ของสมาคมและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านวิชาการ ในการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในรูปการสัมนา หรือการเสวนา โดยความร่วมมือกับองค์กรอิสระหรือสื่อมวลชน
  5. เป็นเป็นตัวแทนสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการประสานงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพอื่นเกี่ยวกับงานทางวิชาการ งานวิจัย
  6. เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ติดต่อกับต่างประเทศในนามของสมาคม เช่น Airway disease assembly ของ Asia Pacific Respiratory Society, European Respiratory Society และ American College of Chest Physician
  7. การให้คำแนะนำ ติดต่อช่วยเหลือแพทย์ ผ่านทางระบบสารสนเทศของสมาคมสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย

ประธาน

ศ.ดร.นพ.กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ

เลขาธิการ

รศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง

ที่ปรึกษา

  1. พลโท นพ. อดิศร วงษา
  2. ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์
  3. รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์

คณะอนุกรรมการ

  1. รศ.พญ.เบญจมาศ ช่วยชู
  2. รศ.พญ.ประภาพร พรสุริยะศักดิ์
  3. ผศ.นพ.อภิชาติ คณิตทรัพย์
  4. ผศ.นพ.มนะพล กุลปราณีต
  5. ผศ.นพ.ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร
  6. พญ.วรวรรณ ศิริชนะ
  7. นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์
  8. พญ.นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร
  9. พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร
  10. ผศ.นพ.อติคุณ ลิ้มสุคนธ์ (ภาคเหนือ)
  11. นพ.อนุชิต นิยมปัทมะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
  12. ผศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง (ภาคใต้)
  13. พญ.สิริพันธุ์ วัฒนสิริภักดี
  14. นพ.ณรงค์วิทย์ นาคขวัญ
  15. นพ.สมชัย อัศวรัศมี
  16. นพ.สันติ สิลัยรัตน์

หน้าที่หลักของคณะอนุกรรมการฯ

  1. กำหนดแนวนโยบายระดับประเทศ เรื่องการวินิจ ฉัย การรักษา การป้องโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    ในประเทศไทย
  2. จัดการฝึกอบรม แพทย์และเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุข แนวทางการวินิจฉัยและรักษาหืด
  3. กำหนดงานวิชาการ ด้านการฝึกอบรม ในระดับการศึกษาหลังปริญญา ทุกระดับ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ (ในนามสมาคมอุรเวชสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย)
  5. กำหนดทิศทางของการท าวิจัย เกี่ยวกับโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดลมอื่นๆ