Assembly Airway

กลุ่ม airway disease assembly เป็นกลุ่มทางวิชาการและการวิจัยโดยแพทย์และนักวิชาการที่มีความสนใจทางด้านโรคหลอดลม หรือ airway disease อันได้แก่ โรคหืด (asthma) ปอดโรคอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) โรคหลอดลมโป่งพอง (bronchiectasis) และโรคหลอดลมอื่นๆ ในนามของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อร่วมทำกิจกรรมทางวิชาการและการวิจัยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลม โดยมีพันธกิจในการจัดมาตรฐานแนวทางการวินิจฉัย และการรักษา และการจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหืดระดับรุนแรงและปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และการประสานความร่วมมือกับสมาคมวิชาชีพอื่น ๆ เช่นสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมูโนวิทยา และสมาพันธ์สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยในการกำหนดมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดลม ในรูปแบบสหสาขาวิชา และบูรณาการ รวมทั้งการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของการป้องกัน และดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดลมในประเทศไทย

ขอบข่ายงาน

  1. ทำงานวิจัยจากฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรคหืดระดับรุนแรงในประเทศไทยที่จะมีการดำเนินการเก็บอย่างเป็นระบบในชื่อว่าโครงการ Severe Asthma Registry Program Thailand หรือ SARP-T ในเรื่องลักษณะทางคลินิก การ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหา biomarkers ที่เหมาะสมในการแยกชนิดของโรคหืดชนิดรุนแรงและการทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่จำเพาะสำหรับโรคหืดขั้นรุนแรง ตลอดจนการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ผลการรักษาของโรคหืด และอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืด โดยเรื่องที่ถือเป็นพันธกิจที่รีบด่วนเกี่ยวกับโรคหืด คือ
    • การสรุปอัตราการรับไว้รักษาที่ห้องฉุกเฉินเนื่องจากหืดกำเริบในประเทศไทย (asthma exacerbation in Thailand)
    • การสรุปอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดในประเทศไทย (asthma mortality in Thailand)
    • การลงทะเบียนผู้ป่วยหืดรุนแรง (Severe asthma registry) ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อจำแนกลักษณะจำเพาะของผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรง (Severe asthma phenotypes) เช่น small airway dysfunction หรือ fixed airflow limitation asthma เป็นต้น
    • การจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรง (Thai severe asthma guideline) ร่วมกับสมาพันธ์องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา ในการวินิจฉัยและรักษาหืดรุนแรงในประชากรไทย โดยเริ่มต้นจากการระดมสมองของนักวิชาการในกลุ่มเพื่อวางรูปแบบของการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดขั้นรุนแรงภายใต้สถานการณ์ที่มีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรสาธารณสุข
    • อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับมาตรฐานกาวินิจฉัยและรักษาโรคหืด (Thai Asthma Guideline) ที่จัดทำโดยสมาพันธ์องค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา โดยจัดทำเป็นการสัมมนาสัญจรภายใต้การร่วมมือของเครือข่ายการบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามภูมิภาคต่าง ๆ อันได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หมุนเวียนไป ทุก 3 เดือน
  2. ทำงานวิจัยโดยการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทยในชื่อว่าโครงการ Surveillance of ABCD phenotypes in Thailand ในแง่ลักษณะทางคลินิก จำนวนและสัดส่วนผู้ป่วยในกลุ่ม ABCD ตาม multi-dimensional approach ของ GOLD โรคร่วมหรือ co-morbidities การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหา biomarkers ตลอดจนข้อมูลการรักษาที่ได้รับในปัจจุบัน ผลการรักษาของโรคโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในประเทศไทย เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในประเทศไทย โดยเรื่องที่กลุ่ม Assembly of Airway Diseases ถือเป็นพันธกิจ ที่รีบด่วน คือ
    • ลงทะเบียนผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (ABCD surveillance in Thailand) ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทยอันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศรีนครินทร์ ขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    • ศึกษาอุบัติการณ์ของหลอดลมอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลล์ในผู้ป่วย COPD จากการตรวจเลือดหาจ านวน
      เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลล์ ในระดับประเทศ (Eosinophilic phenotype of Thai COPD) ภายใต้ความร่วมมือในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
    • การศึกษาอุบัติการณ์และลักษณะชนิดของ pulmonary emphysema ที่ได้จากการตรวจ high resolution computed tomography และผลกระทบต่อการตอบสนองทางอาการและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย COPD ต่อยาขยายหลอดลมที่ใช้รักษาโรค ในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ศรีนครินทร์ขอนแก่น และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อหาลักษณะจำเพาะของผู้ป่วย COPD (Emphysema phenotypes)
    • อบรมให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิ เกี่ยวกับมาตร ฐานการวินิจฉัยและรักษาโรค COPD (Thai COPD Guideline) ที่จัดทำโดย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยจัดทำเป็นการ สัมมนาสัญจรภายใต้การร่วมมือของเครือข่ายการบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ตามภูมิภาคต่างๆ อันได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือ หมุนเวียนไป ทุก 3 เดือน
  3. เป็นตัวแทนด้านวิชาการในการเสนอหัวข้อเรื่องที่จะบรรยายและจัดหัวข้อประชุม ในงานประชุมวิชาการของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี หรือการประชุมกลางปี รวมทั้งการอบรมแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และการจัดสรรข้อสอบ ของสมาคมและราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านวิชาการ ในการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ประชาชน ในการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคและการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในรูปการสัมนา หรือการเสวนา โดยความร่วมมือกับองค์กรอิสระหรือสื่อมวลชน
  5. เป็นเป็นตัวแทนสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการประสานงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพอื่นเกี่ยวกับงานทางวิชาการ งานวิจัย
  6. เป็นตัวแทนของสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ติดต่อกับต่างประเทศในนามของสมาคม เช่น Airway disease assembly ของ Asia Pacific Respiratory Society, European Respiratory Society และ American College of Chest Physician
  7. การให้คำแนะนำ ติดต่อช่วยเหลือแพทย์ ผ่านทางระบบสารสนเทศของสมาคมสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย

ประธาน

ศ.ดร.นพ.กิตติพงศ์ มณีโชติสุวรรณ

เลขาธิการ

รศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง

ที่ปรึกษา

  1. พลโท นพ. อดิศร วงษา
  2. ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์
  3. รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์

คณะอนุกรรมการ

  1. รศ.พญ.เบญจมาศ ช่วยชู
  2. รศ.พญ.ประภาพร พรสุริยะศักดิ์
  3. ผศ.นพ.อภิชาติ คณิตทรัพย์
  4. ผศ.นพ.มนะพล กุลปราณีต
  5. ผศ.นพ.ศุภฤกษ์ ดิษยบุตร
  6. พญ.วรวรรณ ศิริชนะ
  7. นพ.ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์
  8. พญ.นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร
  9. พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร
  10. ผศ.นพ.อติคุณ ลิ้มสุคนธ์ (ภาคเหนือ)
  11. นพ.อนุชิต นิยมปัทมะ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
  12. ผศ.นพ.ศิวศักดิ์ จุทอง (ภาคใต้)
  13. พญ.สิริพันธุ์ วัฒนสิริภักดี
  14. นพ.ณรงค์วิทย์ นาคขวัญ
  15. นพ.สมชัย อัศวรัศมี
  16. นพ.สันติ สิลัยรัตน์

หน้าที่หลักของคณะอนุกรรมการฯ

  1. กำหนดแนวนโยบายระดับประเทศ เรื่องการวินิจ ฉัย การรักษา การป้องโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
    ในประเทศไทย
  2. จัดการฝึกอบรม แพทย์และเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุข แนวทางการวินิจฉัยและรักษาหืด
  3. กำหนดงานวิชาการ ด้านการฝึกอบรม ในระดับการศึกษาหลังปริญญา ทุกระดับ
  4. ประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ (ในนามสมาคมอุรเวชสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย)
  5. กำหนดทิศทางของการท าวิจัย เกี่ยวกับโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดลมอื่นๆ
Posted in Assemblies.